วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Functional Test

    ในการ test แบบ functional test จะขออธิบายไล่ถ้าได้ test อะไรบ้าง จะไม่ได้อธิบายเป็น commit ต้องขออภัยด้วย เพราะว่าตอนทดลองทำ test ได้ทำแล้วก็แก้ แล้วก็ทำต่อเลยไม่ได้ทำการ commit

    เป็น method เรียกใช้ตัวเองในการกำหนด browser ที่จะใช้ในการ test ในกรณีนี้จะเป็น firefox และจะมีการเรียกใช้ method create_test_date() เพื่อใช้ในการสร้างข้อมูลเพื่อใช้ในการ test

    เหตุผลที่จะต้องมีการสร้างข้อมูลก่อนเทสนั้นก็เพราะว่า web app ตัวนี้จะเป็น web app ที่ใช้ในการสุ่ม รายชื่ออาหารซึ่งเป็นข้อมูลใน Database ซึ่งมันจะต้องมีข้อมูลเพื่อใช้ในการสุ่ม แต่ว่าในการ test นั้นเราจะใช้ Database จำลองซึ่งจะไม่มีข้อมูล และ สามารถใส่ข้อมูลจากการ test ได้ โดยไม่ไปกระทบกับตัวข้อมูล ของ Database ที่ใช้งานอยู่จริงๆ











    Method tearDown จะเป็น method เรียกใช้ตัวเอง เพื่อใช้ในการปิด browser หลังจากที่ได้ทำการ test เสร็จแล้ว

    Method create_test_data() จะทำการสร้างข้อมูลลงไปใน Database จำลองเพื่อใช้ในการทดลองสุ่มอาหาร ซึ่งจะใส่ไว้แค่ตัวเดียว เพื่อที่จะดูว่ามีการแสดงผลที่ถูกต้องหรือไม่






































    ในการ test จะ test ตาม user story ที่ได้เขียนเอาไว้ โดย ตอนแรกจะทำการค้นหา title ของ web page ก่อน หลังจากนั้น ก็จะทำการกด ปุ่มโดยค้นหา element โดยใช้ id ว่า button_box โดยจะถูกกำหนดไว้ตอนเขียน web app หลังจากนั้นจะใช้คำสั่ง click() เพื่อทำการคลิกปุ่มแล้วก็จะ check หา id ที่เป็น choice หรือ ก็คือ เหล่าตัวเลือกหมวดอาหาร

    พอค้นหาเจอแล้วก็จะใช้คำสั่ง click เช่นเดิม แล้วก็จะหา id submit ซึ่งจะเป็นปุ่มกด submit นั้นเอง แต่วิธีกดจะไม่เหมือนเดิมเพราะจะใช้การ send_keys(Keys.ENTER) หรือ ก็คือสั่งให้กด Enter นั้นเอง ก็จะไปหน้าผลลัพธ์ แล้วก็ จะค้างไว้ 5 วินาทีเพื่อดูผล แล้วหน้าต่างจะปิดลง แล้วขึ้น Finish the test! ไว้ที่หน้าต่าง terminal

2 ความคิดเห็น: